วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการออกแบบกราฟิก

การออกแบบงานกราฟิกเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตงานทางด้านสิ่งพิมพ์ โดยมีหลักการคิดและวิธีการดำเนินการที่ต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อความหมาย หลักการทางศิลป์ประยุกต์และทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้จะเป็นส่วนเสริมให้งานออกแบบกราฟิกมีคุณค่าสูง องค์ประกอบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.การออกแบบจัดทำต้นฉบับเพื่อการพิมพ์ ต้องมีหลักเกณฑ์การออกแบบนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเป็นระเบียบ มีความชัดเจน น่าสนใจ ส่วนการทำต้นฉบับต้องมีความสอดคล้องกันเพื่อที่จะทำให้งานขั้นสำเร็จมีคุณภาพสูงสุดตามต้องการจึงจะทำให้งานต้นฉบับมีความถูกต้องและสมบูรณ์

2.วัสดุที่ใช้ในการผลิต ผู้ออกแบบจัดทำงานกราฟิกต้องมีความเข้าใจดี สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างดีก็จะทำให้งานออกแบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย

3.ระบบการพิมพ์ การพิมพ์แต่ละแบบแต่ละวิธีก็มีกระบวนการข้อดี ข้อจำกัด หรือข้อบกพร่อง ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทของสิ่งพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป การพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันในบ้านเรา มีดังนี้
-การพิมพ์จากแม่พิมพ์นูน
-การพิมพ์จากแม่พิมพ์พื้นราบ
-การพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึก
-การพิมพ์จากแม่พิมพ์ลายฉลุหรือแม่พิมพ์สกรีน

องค์ประกอบในงานกราฟิก
ส่วนประกอบใหญ่ของงานออกแบบมี 2 ส่วน ด้วยกันที่ต้องได้รับความพิถีพิถันกับการคิด แก้ปัญหา และกำหนดรูปแบบให้น่าสนใจและสอดคล้องกัน คือ
1.ตัวอักษรและตัวพิมพ์ ทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอ ด้วยรูปแบบการจัดวางตำแหน่งที่สวยงาม และมีความชัดเจน ตัวอักษรต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย สวยงาม และน่าสนใจ
***ผู้ออกแบบควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
-รูปแบบตัวอักษร
-ขนาดตัวอักษร
-รูปร่างลักษณะของตัวอักษร
2.ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ ภาพและส่วนตกแต่งต่างๆที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงามจะทำหน้าที่ ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบ เพื่อวางแนวทางในการนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมตามความคิด พร้อมกับการออกแบบจัดงานเพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสาร
การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก
ต้องหาแนวทางที่จะทำให้งานกราฟิกที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมีความน่าสนใจ เร้าใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาศัยแนวคิดจากเทคนิคการใช้เส้น รูปร่างมุมมอง จังหวะลีลา เทคนิคเกี่ยวกับภาพ และการนำเสนอรูปแบบ องค์ประกอบที่เอื้อซึ่งกันและกัน ดังนี้
1.การใช้เส้น เส้นเป็นตัวกำหนดรูปร่างและเป็นองค์ประกอบในการสร้าสรรค์งานกราฟิก ซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 5 ชนิด คือ
-เส้นโค้ง
-เส้นหมุน
-เส้นวนไปวนมา
-เส้นซิกแซก
-เส้นตรง
2.การกำหนดรูปร่าง รูปร่างเกิดจากการใช้เส้นและลักษณะต่างๆกันมาลากต่อกันเกิดเป็นรูปร่างหลัก ลักษณะที่ชัดเจนของรูปร่างจะเน้นความรู้สึกของการมองเห็นเป็น 2 มิติ คือ ส่วนกว้างและยาว
3.มุมมองทัศนียภาพ การนำเสนอรูปแบบงานเพื่อให้น่าสนใจ เร้าใจสามารถสร้างได้โดยง่ายด้วยการเสนอมุมมองของภาพที่จะนำเสนอ มุมมองที่แปลกตาสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้โดยง่าย อาจจะด้วยการถ่ายภาพ ด้วยเลนส์มุมกว้าง หรือเทคนิคพิเศษในห้องมืด
4.จังหวะลีลา การสร้างจังหวะลีลา ได้แก่ ข้อความ ภาพประกอบหรือสัญลักษณ์ วิธีการสร้างจังหวะลีลากระทำได้หลายแบบ
-แบบจัดระเบียบ
-การจัดแบบสลับ
-การจัดแบบศูนย์กลาง
-การจัดแบบกระจาย
-การจัดแบบผสมผสาน
5.เทคนิคเกี่ยวกับภาพ ที่มาของภาพที่นำมาใช้ในงานกราฟิกอาจได้จากการถ่ายภาพ การเขียนภาพ หรือการพิมพ์ภาพ การใช้คอมพิวเตอร์ ตลอดจนวิธีการสร้างสรรค์งานอื่นๆอีกมากมาย
6.การนำเสนอรูปแบบ รูปแบบการนำเสนออาจทำได้หลายแนวทาง แต่ละแนวก็จะให้ความรู้สึกในคุณค่าทางการแสดงออกแตกต่างกันไป แนวทางการนำเสนอจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการออกแบบจะส่งผลในการกระตุ้นการเห็นได้อย่างดี รูปแบบต่างๆ ได้แก่
-การตัดกัน
-การแย้งกัน
-การคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนกัน
-การเน้นทิศทาง
-การเสนอแบบลวดลายพื้น
-การเน้นตัวอักษร
-การเว้นพื้นที่ว่าง
อักษรตัวพิมพ์และการออกแบบตัวอักษร
ตัวอักษรเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทต่อการผลิตงานออกแบบกราฟิกเป็นอย่างยิ่ง รูปแบบและลักษณะเฉพาะของตัวอักษรที่มีความหลากหลายมากมาย การจะเลือกใช้รูปแบบใด ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและเงื่อนไขต่างๆ
อักษรตัวพิมพ์

อักษรตัวพิมพ์ใช้เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลที่ต้องการนำเสนอโดยจะเลือกใช้ตัวอักษรที่มีแบบเรียบ ชัดเจน อ่านง่าย รูปแบบอักษรตัวพิมพ์อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ ดังนี้
-ตัวอักษรแบบมีเชิง
-ตัวอักษรแบบไม่มีเชิง
-ตัวอักษรแบบตัวเขียน
-ตัวอักษรแบบอาลักษณ์
-ตัวอักษรแบบประดิษฐ์
-ตัวอักษรแบบสมัยใหม่

***ลักษณะของตัวอักษร
1)ประเภทตัวเอน
2)ประเภทตัวธรรมดา
3)ประเภทตัวบางพิเศษ
4)ประเภทตัวแคบ
5)ประเภทตัวบาง
6)ประเภทตัวหนา
7)ประเภทตัวเส้นขอบ
8)ประเภทตัวหนาพิเศษ
9)ประเภทตัวดำ

***ขนาดของตัวอักษร
ขนาดของตัวอักษรในงานออกแบบกราฟิกเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะต้องใช้ในการสื่อระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้หน่วยกำหนดขนาดตัวอักษรเป็นสากลจึงเป็นที่แพร่หลาย นักออกแบบจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

***ระยะช่องไฟของตัวอักษร
การจัดช่องไฟของตัวอักษรมีแนวคิด 3 ประการ คือ
-ระยะช่องไฟระหว่างตัวอักษร
-ระยะช่องไฟระหว่างคำ
-ระยะช่องไฟระหว่างบรรทัด

***แบบการจัดตัวอักษร
แบบการจัดตัวอักษรกระทำได้หลายลักษณะดังนี้
ก)แบบชิดซ้าย
ข)แบบชิดขวา
ค)แบบซ้ายขวาตรงกัน
ง)แบบศูนย์กลาง
จ)แบบรอบขอบภาพ
ฉ)แบบไม่สมดุล
ช)แบบรูปธรรม
ซ)แบบแนวตั้ง
ฌ)แบบเอียง

***การออกแบบตัวอักษร
ในการออกแบบตัวอักษรจะต้องเริ่มจากการศึกษาโครงสร้างของตัวอักษร ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวย่อมจะมีรูปลักษณะพื้นฐานเฉพาะสำหรับใช่เป็นบรรทัดฐานเป็นแนวคิดในการออกแบบ การสร้าสรรค์รูปแบบขึ้นมาใหม่จึงจำเป็นต้องให้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของโครงร่างหลักเป็นสำคัญ

***โครงสร้างตัวอักษร
1)เส้นตั้ง
2)เส้นนอน
3)เส้นเฉียง
4)เส้นโค้ง

***สัดส่วนตัวอักษร
การพิจารณาเกี่ยวกับขนาดสัดส่วนจะยึดหลักในการออกแบบไว้ 2 ประการ คือ
1)สัดส่วนของตัวอักษร
2)สัดส่วนภายในตัวอักษร

***เส้นกับตัวอักษร
เส้นที่นำมาใช้ประกอบกันเพื่อการออกแบบย่อมจะเน้นทำให้เกิดผลทางความรู้สึกในการมอง ความชัดเจนในการอ่านและความน่าสนใจในรูปแบบตัวอักษร การเลือกใช้เส้นมาทำการออกแบบจึงควรพิจารณาอย่างเหมาะสม นอกจากทำให้เกิดรูปลักษณะต่างๆกันแล้วยังทำเป็นรูปแบบตัวอักษรอีด้วย ดังนี้
-ตัวเส้นเรียบ
-ตัวเส้นวาดเขียน
-ตัวเส้นอิสระ

( ประเภทของตัวอักษรไทย )
1)แบบราชการ
2)แบบอิสระ

***หลักการและขั้นตอนการออกแบบ
ในการออกแบบตัวอักษร นอกจากจะแฝงไว้ซึ่งความต้องการให้อ่านง่ายและมีความชัดเจนในรูปแบบแล้ว ยังต้องให้ตอบสนองจุดประสงค์อันลึกซึ้งเกี่ยวกับลีลาทางความสวยงาม

( หลักการออกแบบ )
1)ความมีเอกภาพ
2)มีความกลมกลืน
3)มีสัดส่วนที่สวยงาม
4)มีความสมดุล
5)ช่วงจังหวะ
6)มีจุดเด่น